วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560




บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)





ประเทศบรูไน

               ชื่อทางการ                : บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
               เมืองหลวง                : บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
               ศาสนาประจำชาติ       : ศาสนาอิสลาม
               ดอกไม้ประจำชาติ       : ดอกซิมปอร์ (Simpor) ดอกซิมเปอร์มีปรากฏอยู่บน
                                            ธนบัตร1ดอลลาร์บรูไนด้วย
              วันชาติ                     : 23 กุมภาพันธ์
              วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 7 มกราคม พ.ศ.2527
              ภาษาประจำชาติ         : ภาษามาเลย์ (Bahasa Melaysia)
              ภาษาราชการ             : ภาษามาเลย์ (Bahasa Melaysia)

     ประวัติ
          *ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 บรูไนมีอำนาจและชื่อเสียงทางด้านการค้า และครอบครองอาณาเขตส่วนใหญ่ในเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลุ
          *ต่อมาเมื่อสเปนและฮอลันดาแผ่อำนาจเข้ามาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บรูไนก็เสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลง
          *ใน พ.ศ.2449 บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ เพราะเกรงว่าจะต้องเสียดินแดนไป และหลังจากนั้นไม่นานบรูไนก็สำรวจพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนเป็นประเทศที่มีฐานะมั่งคั่ง
          *ใน พ.ศ.2505 พรรคประชาชนบอร์เนียวได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นจากการเลือกตั้ง แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล จึงมีความพยายามที่จะยึดอำนาจจากสุลต่านแต่ไม่สำเร็จ รัฐบาลของสุลต่านจึงประกาศกฎอัยการศึก โดยต่ออายุประกาศทุกๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
          *บรูไนได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 หลักจากอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมานานถึง 95 ปี


ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้ แบ่งออกเป็น 4 เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
พื้นที่: 5,765 ตารางกิโลเมตร เป็นผืนแผ่นดิน 5270 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 70% เป็นป่า เขตร้อน) และเป็นผืนน้ำ 500 ตารางกิโลเมตรโดย
ดินแดนอาณาเขต: รวม 381 กิโลเมตร มีดินแดนอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซียทั้งหมด
เขตชายฝั่ง: 161 กิโลเมตร
เมืองหลวง: บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ภูมิอากาศ: อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก และมี อุณหภูมิอบอุ่น โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภูมิประเทศ: พื้นที่ชายฝั่งสูงขึ้นเป็นภูเขาทางทิศตะวันออก และเนินเขาต่ำทางทิศตะวันตก
ทรัพยากรธรรมชาติ: ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และไม้
ภัยธรรมชาติ: ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และอุทกภัย
สิ่งแวดล้อม (ปัญหาปัจจุบัน): ควันจากไฟป่าในอินโดนีเซีย
สิ่งแวดล้อม (ความตกลงระหว่างประเทศ) : เป็นสมาชิกความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ สูญพันธ์ การปรับตัวของสิ่งแวดล้อม ขยะอันตราย การปกป้องชั้นบรรยากาศ ภาวะมลพิษจากเรือ

ประชากร

ประชากร: 374,577 คน (ประมาณการ ปี 2550)
โครงสร้างอายุ: 0-14 ปี : 27.8% (เพศชาย 53,512 เพศหญิง 50,529) 15-64 ปี : 69 % (เพศชาย 130,134 เพศหญิง 128,488) 65 ปี และสูงกว่า : 3.1% (เพศชาย 5,688 เพศหญิง 6,226)
อัตราการเติบโตของประชากร: 1.81% ต่อปี (ประมาณการ ปี 2550)
สัญชาติ: ชาวบรูไน (Bruneian)
กลุ่มชนพื้นเมือง: มาเลย์ 67% จีน 15% ชาวพื้นเมือง 6% อื่นๆ 12%
ศาสนา: ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67% และศาสนาอื่น ได้แก่ พุทธ 13% คริสต์ 10% และอื่นๆ 10%
ภาษา: ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น ภาษาอังกฤษ และจีน

การศึกษา: 92.7% ของประชากรทั้งหมดอ่านออกเขียนได้


การแต่งกายประจำชาติ บรูไน (Brunei)

    ชาย สวมเสื้อแขนยาว คอปิด กระดุมผ่าหน้าถึงหน้าอก สวมหมวกหรือมีผ้าพันศีรษะ กางเกงขายาว โดยให้สีเสื้อและกางเกงเป็นสีเดียวกัน มีผ้าพันรอบเอว เป็นผ้ายกดิ้นหรือผ้าพื้น โดยนุ่งพับมาด้านหน้าทั้งสองพับ

     หญิง สวมเสื้อแขนยาว อกเสื้อผ่าหน้า ความยาวของตัวเสื้อคลุมสะโพกลงไป สวมผ้าคลุมศีรษะอย่างสตรีชาวมุสลิมทั่วไป กระโปรงยาวมิดชิด เครื่องประดับก็จะมีมงกุฎเพื่อเพิ่มความสวยงามอีกได้

      สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า Baju Melayu ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า Baju Kurung คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง


ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศบรูไน
บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และการแต่งกาย ที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามด้วย เช่น
สตรีชาวบรูไนจะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว เสื้อแขนยาว และมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติ จึงไม่ควรนุ่ง กระโปรงสั้น และใส่เสื้อไม่มีแขน ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทาย จะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ ยื่นมือให้บุรุษจับ การชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่ จะใช้หัวแม่มือชี้แทน และจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชาย และไม่ ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง

การรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน โดยเฉพาะคู่เจรจาที่เป็นชาวมุสลิมควรระมัดระวังการสั่งอาหาร ที่เป็นเนื้อหมูและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากผิดหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ไม่รับประทานเนื้อหมู และถือเป็นกฏที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในการห้ามดื่มสุรา อาจขอให้ คู่เจรจาชาวบรูไนช่วยเลือกร้านอาหาร ทั้งนี้บรูไนไม่มีวัฒนธรรมการให้ทิปในร้านอาหาร ในกรณีที่เป็น ร้านอาหารขนาดใหญ่จะมีการเก็บค่าบริการ เพิ่มร้อยละ 10 อยู่แล้ว

ประเพณีของประเทศบรูไน

1. อาลุส ญูวา ดินดัง(Alus Jua Dendang) คือการแสดงฟ้อนรำของชาวบรูไน เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจากสมัยโบราณ มักมีแสดงในงานแต่งาน มีนักเต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทำการฟ้อนรำและร้องเพลงประกอบ 



2. เทศกาลเมาลิด เป็นคำนามเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งจะแปลความหมายเป็นเวลา หรือสถานที่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับส่วนขยายภายในประโยค ดังนั้น เมาลิด หมายถึง สถานที่เกิดของท่านนบีอย่างแน่นอน นักวิชาการต่างมีความเห็นตรงกันว่า นบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันจันทร์เดือน รอบีอุลเอาวัล ปีช้าง เพราะท่าน อิมามมุสลิมได้บันทึกหะดีษไว้ในหนังสือ ซ่อเฮียหของท่านจาก อบีกอตาดะฮรฎิฯ ว่าท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับ การถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านกล่าวว่า “นั่นคือวันที่ฉันเกิด วันที่ฉันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบี และเป็นวันที่อัลกรุอานได้ถูกประทาน มายังฉัน” แต่จะตรงกับวันที่เท่าไหร่นั้น นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน ท่านอิบนุอิสหาก ผู้บันทึกชีวประวัติของท่านนบีคนแรกมีความเห็นว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ท่านอิบนุฮิชาม ได้รายงานอยู่ในหนังสือชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซีเราะฮ.อิบนิฮิชาม)


         3. เทศกาลกาไว ดายัค คือ เทศกาลเก็บเกี่ยวของชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะชาวอิบันและบิดายูห์ ซึ่งจะสวมชุดประจำเผ่าของตนมาเข้าร่วมงานเฉลิมฉลอง ทำพิธีบูชาเทพแห่งข้าวและเทพแห่งความร่ำรวย และถวายอาหารพื้นเมืองหลายชนิดและตูอัค (เหล้าที่หมักจากข้าว) นี่คือเทศกาลที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวมาเลเซียและชาวต่างชาติ ‘ไม่ควรพลาด       



การเมืองการปกครองของบรูไน

ประเทศบรูไนดารุสสาลามเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Mornachy ) ซึ่งมีหลักการว่า Melayu Islam Berraja ( MIB ) โดยองค์สุลต่านเป็นผู้นำของประเทศและเป็นผู้นำรัฐบาล ด้วยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกลาโหม ได้รับการช่วยเหลือให้คำปรึกษาจากสภาที่ปรึกษา และคณะรัฐมนตรีประเทศบรูไนไม่มีสภานิติบัญญัติหรือสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2000 ทางองค์สุลต่านได้มีการประชุมเพื่อกำหนดรัฐสภา (Parliament) ซึ่งไม่เคยมีการจัดตั้งมานับตั้งแต่ปี 1984 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ด้านการป้องกันประเทศนั้นทางบรูไนได้มีการทำสนธิสัญญากับอังกฤษโดยทางอังกฤษได้ส่งกลุ่มทหารเผ่ากรุข่า (Gurkha ) ซึ่งเป็นชนเผ่าของประเทศเนปาลได้ตั้งฐานอยู่ในประเทศบรูไน ตั้งอยู่ที่ Seria การป้องกันประเทศของบรูไนนับว่ามีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับความร่ำรวยของประเทศ ประเทศบรูไนเองก็มีส่วนในการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะ Spratly ซึ่งมีประเทศมาเลเซีย ,จีน ,ไต้หวัน ,เวียดนาม ,ฟิลิปปินส์ร่วมอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะดังกล่าวด้วย
บรูไนแบ่งการปกครองออกเป็น  4  อำเภอ  คือ
1. Belait
เป็นอำเภอที่ใหญ่ที่สุดของบรูไน เป็นอำเภอที่อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศบรูไน มีเมืองเอกชื่อว่า Kuala Belait เมืองอื่นๆที่มีชื่อเช่น Badas, Kerangan, Nyatan, Labi, Lumut, Seria, Sukang และ Talingan อำเภอนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกติดกับอำเภอ Tutang และทางทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับประเทศมาเลเซีย
2. Brunei และ Muara
เป็นอำเภอที่เล็กที่สุดของประเทศบรูไนตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศมีเมืองเอกชื่อว่าBandar Seri Begawan ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบรูไนด้วย เมืองที่สำคัญมีเมือง Muara อำเภอนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนไต้ ทางทิศตะวันออกติดกับแหลมหรือ อ่าวบรูไน ทางทิศไต้ติดกับประเทศมาเลเซีย และทิศตะวันตกติดกับ Tutong และที่อ่าวบรูไนมีเกาะอีกหลายเกาะตั้งอยู่
3. Temburong
เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศบรูไน  อำเภอ Temburong เป็นอำเภอที่ค่อนข้างแปลกเพราะอำเภอนี้ถูกตัดขาดจากดินแดนของประเทศบรูไนมีเพียงอ่าวบรูไนเท่านั้นเป็นตัวเชื่อมระหว่างอำเภอ Temburong กับส่วนอื่นๆของประเทศบรูไน ดังนั้นเมื่อประชาชนประเทศบรูไนจากอำเภอ Temburong จะเดินทางไปยังอำเภออื่นๆของประเทศบรูไน จึงมีทางเดียวเท่านั้นที่เป็นดินแดนเดียวกัน นั้นคือการเดินทางทางทะเล โดยผ่านอ่าวบรูไน   ส่วนการเดินทางทางบกนั้นจำเป็นต้องผ่านดินแดนของประเทศมาเลเซียส่วนที่เรียกว่า Limbang ดังนั้นประชาชนชาวบรูไนจากอำเภอ Temburong  ที่ต้องการเดินทางไปยังส่วนอื่นๆของบรูไนโดยผ่านLimbang จึงต้องใช้ Pasport ในการเดินทางดังกล่าว
4. Tutong
เป็นอำเภอหนึ่งของประเทศบรูไน มีเมืองเอกชื่อว่า Tutong ส่วนเมืองที่สำคัญอื่นๆเช่น Kuala Abang , Lamunin, Melit, Penanjong และTelisai อำเภอนี้มีเพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกกับอำเภอBrunei และMuara รวมทั้งประเทศมาเลเซีย ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับอำเภอ Belait

รัฐธรรมนูญของประเทศบรูไน

   ประเทศบรูไนมีการใช้รัฐธรรมนูญตั้งแตปี 1959 และรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีการแก้ไขในปี 1971 และปี 1984 โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 1959 ได้กำหนดให้สุลต่านเป็นผูนำของรัฐโดยมีอำนาจสมบูรณ์ องค์สุลต่านมีผู้ช่วยและผู้ให้คำปรึกษาโดย 5 สภา คือสภา ศาสนา (The Religious Council) สภาที่ปรึกษา( The Privy Council) สภารัฐมนตรี ( The Council of Ministers ), สภานิติบัญญัติ ( The Legislatif Council ) และสภาที่เรียกว่า The Council of Succession ซึ่งทำหน้าที่ในการเลือกสุลต่านองค์ใหม่ และภาระกิจอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 1959 นั้นกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งสูงในฝ่ายบริหาร โดยมีที่ปรึกษาชาวอังกฤษผู้มีตำแหน่งเป็น British High Commissioner ให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆยกเว้นกิจการเกี่ยวกับศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมลายู ต่อมามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในปี 1971 โดยอังกฤษมีอำนาจในการต่างประเทศ ส่วนกิจการความมั่นคงการป้องกันประเทศอยู่ในความรับผิดชอบของประเทศบรูไนและอังกฤษ และมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งเมื่อประเทศบรูไนได้รับเอกราช เมื่อ 1 มกราคม 1984 โดยในปีดังกล่าวสุลต่านได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาเมื่อ ตุลาคม 1986 สุลต่านได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามรัฐธรรมนูญ 1959 การแต่งตั้งสมาชิกของสภาต่างๆ เป็นอำนาจของสุลต่าน โดยสภาศาสนาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม สภาที่ปรึกษา (องคมนตรี ) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการต่างๆตามรัฐธรรมนูญ สภานินติบัญญัติให้คำปรึกษาเพื่อให้รัฐธรรมนูญได้รับการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์แต่ความจริงแล้วสภานิติบัญญัติไม่มีการประชุมมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว

ข้อมูลเศรษฐกิจ

           ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากน้ำมัน ประมาณ 48% และก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 43% นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย คือประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน และผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือPetroleum Brunei) ซึ่งจัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ โดยมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งด้วยการนำรายได้จากน้ำมันไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่าน Brunei Investment Agency (BIA) ในรูปการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม โดยส่วนใหญ่อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา
            เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของบรูไน คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ส่งออกถึงร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด) ทำให้บรูไนมีดุลการค้าเกินดุลมาโดยตลอด สินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐ ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลี ตามลำดับ ในขณะที่สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ และมาเลเซีย โดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและผลไม้ บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง ได้แก่ การผลิตอาหาร เครื่องมือ และเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังประเทศในยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไนมุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้าและสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ กระจกรถยนต์ เป็นต้น แต่ยังคงประสบอุปสรรคด้านการขาดแคลนแรงงาน โดยเะช่างฝีมือ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก

นโยบายเศรษฐกิจ
 ปัจจุบัน รัฐบาลกำลังพยายามพัฒนาภาคเศรษฐกิจอื่นเพื่อเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันและก๊าซเป็นหลักไปสู่โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้นเนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว(proven reserve)ของบรูไนจะหมดลงในราวปี 2558ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชียตั้งแต่ปี 2543 ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและใช้มาตรการต่างๆเพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่

1.จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ นำโดยเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโดยมีแนวทางในการส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจ
2.ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเดิมที่เน้นนโยบายการให้สวัสดิการมาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และมีการขยายฐานการจัดเก็บภาษี
3.ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ๆที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม หรือธุรกิจสายการบิน
4.ตามแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 8 (The Eighth National Development Plan: 8th NDP)ซึ่งดำเนินการระหว่างปี 2544-2548 รัฐบาลบรูไนได้ตั้งเป้าหมายอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ 5-6% โดยเน้นการสร้างสมดุลของงบประมาณให้ดีขึ้น และกำหนดมาตรการในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจแบบยั่งยืน สร้างการขยายตัวและความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซรวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจบางกิจการ และสร้างความแข็งแกร่งในระบบการเงินและการคลัง นอกจากนี้ ยังยึดแนวคิดของระบบธรรมาภิบาล (Good Governance) และมุ่งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคเอกชน
5.ส่งเสริมการลงทุนร่วมกับต่างชาติ สนับสนุนการเปิดเสรีการค้า และสร้างบรรยากาศการลงทุนที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่อนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ
6.พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และตั้งเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งในโครงการความร่วมมือของกลุ่มBrunei Indonesia Malaysia Philippines – East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA)
7.สร้างความเข้มแข็งของระบบการเงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศและเอื้ออำนวยต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐานและกำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางด้านการเงินระหว่างประเทศ (Brunei International Financial Center: BIFC) เพื่อพัฒนาการให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างโอกาสในการทำงานให้กับประชาชน
 นอกจากนี้ รัฐบาลยังส่งเสริมการพัฒนาของภาคเอกชนซึ่งถือเป็นแกนหลักในการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้ออกกฎหมาย Investment Incentive Act (1975) และได้จัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรพื้นฐาน (Ministry of Industry and Primary Resources)ในปี2532 ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่ธุรกิจตลอดทั้งวงจร ตั้งแต่ช่วงเริ่มจัดตั้ง ช่วงการเจริญเติบโต ช่วงอิ่มตัว และช่วงขยายงาน โดยกิจกรรมทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารแห่งชาติ
2. อุตสาหกรรมสำหรับตลาดภายในประเทศ
3. อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ และ อุตสาหกรรมเพื่อตลาดส่งออก
  นโยบายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกำลังคน การเป็นเจ้าของกิจการ การสนับสนุนของรัฐบาล และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังคงเปิดและยืดหยุ่นสำหรับกิจกรรมทางอุตสาหกรรมทุกประเภท และยังคงใช้แนวทางในการจัดการที่เป็นไปได้ นโยบายเรื่องการเป็นเจ้าของกิจการ อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ถือหุ้นส่วนใหญ่ และถือหุ้นส่วนน้อย ตามแต่ประเภทของอุตสาหกรรมและสถานการณ์ มีเพียงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารแห่งชาติและใช้ทรัพยากรภายในประเทศที่ยังคงต้องมีผู้ถือหุ้นในประเทศ ส่วนอุตสาหกรรมสำหรับตลาดภายในประเทศที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารแห่งชาติและอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100%
 บรูไนให้ความสำคัญกับการสร้างเสถียรภาพของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ทุกพื้นที่ต้องปราศจากมลพิษและมีความสมดุลทางนิเวศน์ เนื่องจากรัฐบาลยึดหลักปรัชญาการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทุกประเภทจะถูกห้าม และเกณฑ์ประการหนึ่งในการคัดเลือกอุตสาหกรรม คือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ภาษา

ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ภาษาราชการของบรูไนคือภาษามาเลย์ ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวบรูไนใช้กัน มากเนื่องจากชาวบรูไนร้อยละ 66 มีเชื้อสายมาเลย์ อย่างไรก็ตาม ชาวบรูไนส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ และสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อธุรกิจได้เช่นกัน รวมไปถึงภาษาจีนซึง เป็นภาษาที่มีการใช้กันมาก เนื่องจากมีชาวบรูไนเชื้อสายจีนอยู่ถึงร้อยละ 11 การเรียนรู้ภาษามาเลย์จะช่วยสร้างความประทับใจให้คู่เจรจา ชาวบรูไนได้


                                                   อาหารประจำชาติบรูไน



        อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติ แต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด  ทั้งนี้ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆ จึงจะดีที่สุด




         อูดัง ซัมบัล เซอไร เบอร์ซันตัน (Udang Sambal Serai Bersantan) เป็นอารประจำชาติของประเทศบรูไน เป็นพริกแกงกุ้งตะไคร้ใส่กะทิ ลักษณะคล้ายอาหารจำพวกแกงกะหรี่ วิธีทำคือบุบกระเทียมแล้วลงไปเจียวกับหอมหัวใหญ่ ตามด้วยเครื่องแกงกับตะไคร้สับละเอียด จากนั้นใส่กุ้งกุลาดำ พริก เพิ่มรสชาติด้วยเกลือกับน้ำตาล ผัดจนกุ้งเปลี่ยนเป็นสีชมพู เสร็จแล้ว ราดกะทิ เคี่ยวจนข้น แล้วรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ



 



    เกอตูปัต (Ketupat) ข้าวห่อด้วยใบมะพร้าวที่นำมาสานเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ถือเป็นวัฒนธรรมการกินที่แสดงออกถึงความละเอียดประณีต และภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบรูไนมักกินข้าวกับ ‘เรนดัง’ (Rendang) แกงเนื้อรสเข้มข้นที่แพร่หลายไปทั่วประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ รวมทั้งภาคใต้ของ ประเทศไทย และจากความอร่อยของเรนดังส่งผลให้เมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างยอมรับว่ามันเป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก โค่นแชมป์เก่าอย่างแกงมัสมั่นของไทยลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ



ดอกไม้ประจำประเทศบรูไน



     ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน   จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย

  สถานที่ท่องเที่ยวบรูไน

1. พิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย (Royal Regalia Museum)


10 ที่เที่ยวบรูไน


        ภาพจาก bruneitourism.travel

          พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวงเลยสำหรับพิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน เพราะเป็นที่ซึ่งรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของสุลต่านองค์ปัจจุบัน ทั้งฉลองพระองค์, เครื่องทรงทองคำ, อาวุธ และเครื่องราชบรรณาการจากประเทศต่าง ๆ ที่มีความวิจิตรงดงาม เช่น คริสตัล หยก งาช้าง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพระที่นั่งแบบจำลองให้ได้ชมกันด้วย


          สำหรับส่วนที่เป็นไฮไลท์ ได้แก่ ห้องเล็ก ๆ ที่จำลองขบวนพาเหรดและการตกแต่งอันสวยงาม เนื่องในวโรกาสฉลองครบรอบ 25 ปี การครองราชย์ขององค์สุลต่านนั่นเองค่ะ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปภายใน ใครที่พกกล้องไปจะต้องฝากไว้ที่เคาน์เตอร์ด้านนอกเท่านั้นค่ะ


2. มัสยิดทองคำ (Jame Ar' Hassanil Bolkiah Mosque)

10 ที่เที่ยวบรูไน

      มัสยิดทองคำ Jame Ar' Hassanil Bolkiah Mosque ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1988 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1994 เพื่อเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงถึงการครองราชย์ครบ 25 ปี ขององค์สุลต่าน และมัสยิดแห่งนี้ยังยิ่งใหญ่และอลังการที่สุดในประเทศบรูไนด้วย จุดเด่นของมัสยิดทองคำคือหลังคาสีฟ้าน้ำทะเลที่มีโดมทองขนาดยักษ์ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าของตัวมัสยิดนั้นจะมีสระน้ำอยู่ ซึ่งดูคล้ายกับทัชมาฮาลในประเทศอินเดียทีเดียว

3. หมู่บ้านกัมปงไอเยอร์ (Kampong Ayer)

10 ที่เที่ยวบรูไน

ภาพจาก bruneitourism.travel

          ถือเป็นความเรียบง่ายที่น่าหลงใหลสำหรับหมู่บ้านกลางน้ำกัมปงไอเยอร์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำบรูไน โดยจะมีการแบ่งเป็นหมู่บ้านย่อย ๆ อีกกว่า 42 หมู่บ้าน และมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คนเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละหมู่บ้านนั้นเชื่อมต่อกันหมดด้วยทางเดินที่ทอดยาวกว่าเกือบสามสิบกิโลเมตร บริเวณหมู่บ้านยังประกอบไปด้วยโรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร มัสยิด ฯลฯ และอาชีพหลักของคนในหมู่บ้านคือการประมงและการเลี้ยงสัตว์


          แม้จะดูเรียบง่ายแต่ขอบอกว่าหมู่บ้านแห่งนี้เจริญไม่ต่างจากในเมือง เนื่องจากมีทั้งไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เข้าถึง โดยคุณสามารถเยี่ยมชมหมู่บ้านกลางน้ำกัมปงไอเยอร์ได้โดยการเดินลัดเลาะตามทางเดินที่เชื่อมต่อกัน รวมทั้งการนั่งเรือรับจ้างสัมผัสละอองน้ำบาง ๆ พร้อมกับชมทัศนียภาพโดยรอบของหมู่บ้าน

4. พระราชวัง Istana Nurul Iman (The Istana Nurul Iman palace)


10 ที่เที่ยวบรูไน

ภาพจาก bruneitourism.travel


          พระราชวัง Istana Nurul Iman สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1987 และมีมูลค่ากว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในของพระราชวังถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยวัสดุชั้นดี และประกอบไปด้วย 1,788 ห้อง, ห้องน้ำ 257 ห้อง และ 5 สระน้ำ นอกจากนี้ยังมีห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ซึ่งบรรจุได้ถึง 5,000 คนเลยทีเดียว ที่สำคัญยังพร้อมไปด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกมากมายเลยค่ะ

5. ชายหาดอันสวยงาม

 ท่อง 10 ที่เที่ยวบรูไน เมืองเล็ก ๆ ที่มั่งคั่งด้วยอารยธรรม


ภาพจาก mytravel-asia


       มาถึงสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติกันบ้าง ประเทศบรูไนนอกจากจะโดดเด่นเรื่องสถาปัตยกรรมแล้ว ด้านธรรมชาติยังงดงามไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายหาดต่าง ๆ ในประเทศบรูไนที่ติดกับทะเลจีนใต้ ขอบอกว่าแต่ละหาดนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ต่างกันไป เช่น หาด Muara ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน เพียง 27 กิโลเมตรเท่านั้น ที่สำคัญหาดทรายยังสวยและพร้อมไปด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกมากมายทั้งที่พัก ร้านอาหาร นอกจากนี้ยังมีชายหาดขึ้นชื่อ ได้แก่ หาด Meragang, หาด Serasa และหาด Pantai Seri Kenangan


ที่มา

       http://www.ceted.org/tutorceted/art.html
      http://politicsasean.blogspot.com/2013/01/blog-post.html
      http://foodflowerdress.blogspot.com/
      http://linethaitravelblog.blogspot.com/2015/03/blog-post_4.html
      https://travel.kapook.com/view91704.html
      https://sites.google.com/site/longnationalfestival/theskal-khxng-bruni
      http://jatuporn.ucoz.com/blog/brunei_darussalam/2012-08-31-51

บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) ประเทศบรูไน                ชื่อทางการ                : บรูไนดารุสซาลาม ( Brunei ...